วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

พริกขี้หนู

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร Plantae

ส่วน Magnoliophyta

ชั้น Magnoliopsida

ชั้นย่อย Asteridae

อันดับ Solanales

วงศ์ Solanaceae

สกุล Capsicum
สปีชีส์ C. frutescens
ชื่อสามัญ : Bird Chilli

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens Linn.
ชื่อในภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ ได้แก่ Chilli Padi, Bird's Eye Chilli, Bird Chilli, Thai pepper
วงศ์ : SOLANACEAE

ชื่ออื่น ๆ : พริกแด้, พริกแต้, พริกนก, พริกแจว, พริกน้ำเมี่ยง (เหนือ-พายัพ), พริก, พริกชี้ฟ้า,พริกขี้หนู (ภาคกลาง-เหนือ), ดีปลี (ใต้- ปัตตานี), ดีปลีขี้นก, พริกขี้นก, ใต้ (ภาคใต้), ลัวะเจีย (แต้จิ๋ว), มะระตี้ (สุรินทร์), ล่าเจียว (จีนกลาง), หมักพริก (อีสาน)

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม.

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม

ดอก : จะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง

ผล : ผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณ

ผล ใช้ปรุงรสอาหาร ช่วยเจริญอาหาร และรักษาอาการอาเจียน รักษาโรคหิด กลาก รักษาโรคบิด โดยการใช้พริกสด 1 เม็ด หรือมากกว่านั้นใช้กิน และอาการปวดบวมเนื่องจากความเย็นจัด โดยใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้ง หรือสารละลายแอลกอฮอล์ใช้ทาอื่น ๆ พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้สวนครัวที่ขาดกันไม่ได้ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นง่าย แต่บำรุงรักษายาก เพราะใบอ่อนของพริกอร่อยทำให้แมลงต่าง ๆ ชอบกิน ผลแรกผลิใช้ผสมกับผักแกงเลียงช่วยชูรส ส่วนผลกลางแก่ใช้ใส่แกงคั่วส้มจะได้อาหารที่มีรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เพราะมีวิตามีซี และไส้พริกจะมีสารแคบไซซิน ที่ให้ความเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อนเป็นเครื่องปรุงอาหารช่วยชูรส ใส่น้ำพริก ยำ ทำเป็นน้ำปลาดองและยังเป็นยาช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุหรือใช้ภายนอกเป็นยาทาถูนวดลดอาการไขข้ออักเสบ

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาเขตร้อน
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ต้นความสูง 30-120 cm ใบมีลักษณะแบนและเรียบมัน ผลมีขนาดเล็กเรียวยาวประมาณ 2-3 ซ.ม. เมื่อดิบผลมีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสเผ็ดจัด นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลากหลายชนิด

ข้อมูลทางคลีนิค

1. รักษาอาการบวม ฟกช้ำ ให้ใช้พริกขี้หนูที่แก่จัดเป็นสีแดงแล้วตากแห้งนำมาบดเป็นผงให้ละเอียดแล้วเทลงในวาสลินที่เคี่ยวจนเหลวกวนให้เข้ากัน แล้วนำไปเคี่ยวอีกจนได้กลิ่นพริก ใช้สำหรับทาถู รักษาอาการเคล็ด ถูกชน ฟกช้ำดำเขียว และอาการปวดตามข้อให้ทาตรงบริเวณที่เป็นวันละครั้ง หรือสองวันต่อครั้ง

2. รักษาอาการปวดตามเอวและน่อง ให้ใช้ผงพริกขี้หนูและวาสลิน หรือผลพริก วาสลิน และแป้งหมี เติมเหล้าเหลืองจำนวนพอประมาณแล้วคนให้เป็นครีม ก่อนที่จะใช้ ให้ทาลงบนกระดาษแก้วปิดบริเวณที่ปวด ใช้พลาสเตอร์ปิดโดยรอบ จะมีอาการทำให้เหงื่อออกการเคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น และรู้สึกหายปวด จากการตรวจสอบพบว่า ตามบริเวณที่พอกยาจะมีความรู้สึกร้อนและการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มขึ้น

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. สารสกัดจากพริก ใช้ทาลงบนผิวหนังจะทำให้หลอดเลือด ตามบริเวณนั้นขยายตัว และการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้นถ้าใช้มากเกินไปอาจจะทำให้ระคายเคืองได้

2. ฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฆ่าแมลง แคปซายซินจะมีผลยับยั้งเชื้อ Bacillus cereus และเชื้อ Bacillus subtilis แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Bacillus aureus และเชื้อ Bacillus coli นอกจากนี้สารที่สกัดจากพริก โดยวิธีการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง

3. ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร แคปซายซิน ทำให้เจริญอาหาร และกินอาหารได้มากขึ้น พริกสามารถช่วยกระตุ้นทำให้การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารสุนัขเพิ่มขึ้นและน้ำสกัดที่ได้จากพริก จะช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภาที่เกิดจากอะเซทิลโมลีนและฮีสตามีนได้ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มการบีบตัว ของลำไส้เส่วนปลาย ileum ของหนูตะเภา แต่ถ้าให้แคปซายซินซ้ำอีกครั้งในขนาดเท่า ๆ กัน จะมีผลน้อยมากหรือไม่มีผลเลย

4. ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต แคปซายซิน ที่สกัดจากพริก สามารถกระตุ้นหัวใจห้องบนของหนูตะเภาแต่เมื่อฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของแมวและสุนัข จะทำให้ความดันโลหิต และหัวใจเต้นช้า หายใจขัด และอาการพวกนี้จะหายไปเมื่อเราตัดเส้นประสาทเวกัสออก (Vagotomy) ส่วนแคปซายซิน จะเพิ่มความดันโลหิตในแมว ที่ถูกตัดหัวออก (decapitated cat) ถ้าฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของแมวที่ถูกวางยาสลบ จะทำให้ความดันโลหิตในปอดสูงขึ้นแต่เมื่อฉีดเข้าบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง จะทำให้หลอดเลือดนั้นหดตัว และฤทธิ์ของแคปซายซินต่อหัวใจห้องบนของหนูตะเภานั้นจะเพิ่มทั้งความเร็ว และความแรงในการเต้น

5. ฤทธิ์อื่น ๆ หลังจากกินอาหารที่ใช้พริกขี้หนูแก่จัดสีแดงเป็นเครื่องปรุงแต่งนานประมาณ 3 สัปดาห์ จะทำให้สารกลุ่มคอรืติโซน ในพลาสมาเพิ่มขึ้น และปริมาณที่ขับออกทางปัสสาวะก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนสารที่สกัดได้จากพริก ถ้าฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร จะมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้เดินเซ เล็กน้อย และชักตายได้ เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดจะมีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูขาว และมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกทั่วไป

ความลับของพริกขี้หนู

1 แก้ปวดหัว ปวดหัวเนื่องมาจากไข้หวัด หรือตััวร้อน ใช้ใบพริกขี้ หนูสดๆ ตำกับดินสอพองปิดขมับ

2 แก้เจ็บคอเสียงแหบใช้น้ำต้มหรือยาชงพริกขี้หนูกลัวคอแก้เจ็บคอและเสียงแหบได้โดยใช้พริกขี้หนูป่น๑หยิบมือเติมน้ำเดือดลง ไป ๑ แก้ว ทิ้งไว้พออุ่น ใช้น้ำกลัวคอ

3 ช่วยขับลม แก้อาหารไม่ย่อย เจริญอาหาร โดยกินพริกขี้หนูสวน รักษากระเพาะที่ไม่มีกำลังย่อยอาหาร

4 แก้ปลาดุกยักใช้พริกขี้หนูสดเขียวหรือแดงก็ได้ ขยี้ตรงที่ปลาดุก แทงจะหายปวด ขยี้แล้วจะรู้สึกเย็น(ธรรมดาพริกขี้หนูร้อน) ไม่บวม ไม่ฟกช้ำด้วย

5 แก้เท้าแตกใช้พริกขี้หนูทั้ง ๕ ปูนขาว สื่งละพอควร เอาไปต้ม เอาน้ำมาแช่เท้าที่แตก ถ้าไม่หายเอาต้นสลัดได รากหนอนตากยากใส่ลงไปด้วย

6 แก้บวม ใบพริกขี้หนู บดผสมนำ้มะนาว พอกบริเวณที่บวม

7 รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้ใบพริกขี้หนู ตำพอกรักษาแผลสดและแผลเปื่อย(อย่าใช้พริกขี้หนูปิดแผลมากเกินไปเพราะจะทำให้ร้อน

8 ใบ้ใบเป็นอาหาร ใบพริกขี้หนูมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก เพราะมี ธาตุ แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ไวาตามินเอ และบีอยู่มาก บำรุงกระดูกบำรุง ประสาท

9 แก้พิษตะขาบและแมลงป่องกัด ใช้พริกขี้หนููแห้ง ตำผงละลาย น้ำมาะนาว ทาแผลตะขาบกัด แมลงป่องต่อย หายเจ็บปวดดีนัก

10 มดคันไฟกัด ใช้ใบหรือดอกพริกขี้หนูก้ได้ ถูบริเวณถูกกัด หายแล

การปลูก
สามารถปลูก ได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสม ที่สุดคือดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำ ได้ดี มีความเป็นกรด เป็นด่าง ของดิน 6.0-6.8 ปลูกได้ตลอดปี พริกขี้หนูเป็นพืช ที่ใช้ส่วนของผลบริโภค ในรูปของพริกสด และพริกแห้ง และสามารถ ใช้ประกอบอาหาร ได้หลายชนิด มีรสเผ็ด

การเตรียมดินเพาะกล้าพริกขี้หนู

ใช้จอบขุดหน้าดินลึก 15-20 เซนติเมตร ทำแปลงขนาดกว้าง 1 เมตร ความยาวตามความ เหมาะสมของพื้นที่ ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก คลุกเคล้ากับดิน ขุดหลุมปลูกโดย ใช้ระยะห่าง ระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 70-80 เซนติเมตร ควรรองกันหลุม ด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ 1/2 ช้อนชา ทับหน้าปุ๋ยเคมี ด้วยปุ๋ยคอกหลุมละ 1 กะลามะพร้าว แล้วถอนแยกต้น กล้าลงปลูก หลุมละ 1 ต้น แล้วรดน้ำตามให้ชุ่ม

การดูแลรักษาพริกขี้หนู

การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 1 ช้อนชาต่อต้นทุกๆ 15-20 วัน โดยโรยห่างโคนต้น 5 เซนติเมตร และรดน้ำตามทันที หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้

การให้น้ำ ควรให้น่ำพริกขี้หนูสม่ำเสมอทุกวัน อย่าให้ขาดน้ำโดยเฉพาะช่วงแรกหลังย้ายปลูก
การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรพรวนดินและกำจัดวัชพืชในระยะแรกอย่าให้วัชพืชรบกวน เพราะวัชพืชจะแย่งอาหารได้

การเก็บเกี่ยว

พริกขี้หนู เป็นพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวได้หลังย้ายลงปลูก 60-90 วัน การเก็บควรเก็บทุกๆ 5-7 วัน โดยใช้วิธีเด็ดทีละผล อย่าเก็บทั้งช่อ เพราะผลในแต่ละช่อแก่ไม่พร้อมกัน พริกขี้หนูสามารถเก็บได้ยาวนานถึง 6 เดือน



จากเว็บ http://www.the-than.com/samonpai/sa_7.html

กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...